เป็นขั้นตอนที่ต้องการกระดาษสี หากไม่ใช้การผลิตกระดาษสีสามารถข้ามขั้นตอนนี้สู่การทำแผ่นกระดาษได้เลย การย้อมสีเยื่อสับปะรดนี้ใช้การย้อมสีที่เรียกว่า การย้อมเย็น โดยใช้สีประเภท Reactive หรือ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า“สีซอง”สีประเภทนี้ราคาถูกใช้ได้ผลดี จากการทดลองกับเยื่อจากใบสับปะรด ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ดีการย้อมสีเยื่อกระดาษจากใบสับปะรดมีขั้นตอนการย้อมเช่นเดียวกับการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายโดยมีขั้นตอนการย้อม ดังนี้
วิธีการย้อมสีกระดาษใยสับปะรด
ตวงน้ำตามที่กำหนดจากนั้นนำสีตามต้องการละลายในน้ำอุ่น (ปริมาณพอสมควรที่จะละลายสีได้หมด) นำมาเทลงในน้ำที่ตวงได้การตวงน้ำครั้งแรก ควรปรับลดตามปริมาณน้ำอุ่นที่ใช้ผสมสีด้วย คนให้สีเข้ากับน้ำจึงนำเยื่อกระดาษจากใบสับปะรด (อาจเป็นเยื่อที่ผ่านการฟอกขาวหรือเยื่อที่ไม่ฟอกขาวก็ได้)ลงคลุกกับน้ำสีโดยใช้มือคลุกพลิกไปพลิกมาจนสีจับเยื่อกระดาษสม่ำเสมอกัน ใส่เกลือ 100 กรัม คนและคลุกเคล้ากับเยื่อกระดาษให้ทั่วกับเยื่อกระดาษให้ทั่วกันตั้งทิ้งไว้ 25 นาทีหลังจากนั้นเติมเกลือส่วนที่เหลือ 100 กรัม กับโซดาแอช 100 กรัมลงไปคลุกกับเยื่อกระดาษจนทั่วอีกครั้งหนึ่ง ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงจากนั้นจึงนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง จนเห็นว่าสีส่วนเกินไม่ละลายออกมากับน้ำแล้วจึงได้เยื่อกระดาษจากใบสับปะรดย้อมสีพร้อมทำแผ่นต่อไปเยื่อกระดาษจากใบสับปะรดที่ใช้ในการย้อมสีสามารถใช้ได้ทั้งเยื่อที่ไม่ผ่านการฟอกขาวเยื่อและเยื่อที่ผ่านการ ฟอกขาวแล้ว จะให้กระดาษสีที่มีลักษณะแตกต่างกันคือ
- กระดาษสีที่ได้จากการย้อมเยื่อที่ผ่านฟอกขาวมาก่อนแล้วจะให้กระดาษที่มีสีสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นและสีสดใสกว่า เนื่องจากเยื่อที่ผ่านการฟอกขาวสามารถรับสีได้ดีกว่าลักษณะของกระดาษคล้ายกับกระดาษสาสีทั่วไป
- กระดาษสีที่ได้จากการย้อมเยื่อกระดาษที่ไม่ผ่านการฟอกขาวจะให้กระดาษสีที่มีสีไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นเนื่องจากเยื่อที่ไม่ผ่านการฟอกขาวจะมีสีของเยื่อที่มีความเข้ม แตกต่างกันอยู่คือเยื่อจากผิวใบจะให้สีเข้มกว่า เยื่อจากเส้นใยภายในใบกระดาษที่ได้จึงมีสีอ่อนเป็นพื้นและมีสีเข้มจากเยื่อผิวใบกระจายอยู่ทั่วทั้งแผ่นและสีของกระดาษจะหม่น ไม่สดใสเหมือนกระดาษที่ฟอกขาวเยื่อขาวก่อน แต่ก็มี ความสวยงามไปอีกลักษณะหนึ่ง
ล้างเยื่อสับปะรดที่ย้อมสีด้วยน้ำสะอาด
ล้างเยื่อสับปะรดที่ผ่านการย้อมสีแล้วด้วยน้ำสะอาดประมาณ 2 ครั้งเพื่อกำจัดสีส่วนเกินออกไปหมด ทดสอบหลังการล้างด้วยน้ำสะอาดแล้ว ด้วยการบีบเยื่อดูหากน้ำไหลออกมาจากเยื่อเป็นน้ำใสสะอาดแสดงว่าล้างสะอาดดีแล้วแต่ถ้ายังมีสีปนออกมาอยู่ต้องล้างต่อให้สะอาดเยื่อที่ล้างไม่สะอาดจะมีผลต่อการตกสีของกระดาษได้
การทำแผ่นกระดาษใยสับปะรด
การทำแผ่นกระดาษใยสับปะรด |
ละลายก้อนเยื่อลงในตะแกรงที่ลอยอยู่ในน้ำในอ่างแตะกระดาษใช้มือกระจายให้ทั่วเยื่อตะแกรง การที่จะให้เยื่อกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นด้วยการใช้ฝ่ามือหรือหลังมือตีน้ำเบาๆ ทั่วทั้งแผ่น จึงเรียกว่า “การแตะ” จากนั้นค่อย ๆ ยกตะแกรงขึ้นตรง ๆเพื่อไม่ให้เยื่อกระดาษเลื่อนตัวไปทางใดทางหนึ่งแล้วจึงวางตะแกรงบนรางไม้ที่วางเรียงกันสองอันในแนวราบ เพื่อให้กระดาษหมดน้ำพักหนึ่งจึงยกออกไปตากต่อไป
การตากกระดาษใยสับปะรด
การตากกระดาษใยสับปะรด |
นำตะแกรงกระดาษใยสับปะรดไปตากแดด ประมาณ 1 ชั่วโมงจึงนำเข้าตากในร่ม หรือในที่มีแดดรำไร ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีและหลีกเลี่ยงที่มีลมแรง หรือลมกรรโชก การตากด้วยการหันหลังตะแกรงพิงกันทำมุมประมาณ 60องศา เช่นเดียวกับการตากกระดาษสา
การหันตะแกรงพิงกันทำมุม 60 องศา |
หากต้องการกระดาษหน้าเรียบเมื่อตากกระดาษจนหมดแล้ว ใช้ขันอลูมิเนียมขนาดเล็ก ที่มีน้ำหนักเบาขอบมน ไม่มีคมขัดลูบผิวหนังของกระดาษเบา ๆ จนหน้าเรียบทั่วแผ่น
การลอกกระดาษออกจากตะแกรง
เมื่อกระดาษแห้งสนิทดีแล้วจึงลอกกระดาษออกจากตะแกรง ด้วยการแกะกระดาษไปที่มุมใดมุมหนึ่งแล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งสอดเข้าไปใต้กระดาษ ดันให้กระดาษหลุดจนตลอดทั้งแผ่นก็จะได้กระดาษจากใบสับปะรดพร้อมใช้งาน
การทำกระดาษสภาพอากาศ ฝนไม่ตกจะทำกระดาษได้เนื่องจากกระดาษจะต้องตากแดดรำไร ในสเลมจะทำให้การลอกกระดาษไม่ขาดจากเฟรมกระดาษจากใยสับปะรดที่เป็นสีธรรมชาติจะสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้มากกว่ากระดาษที่ผสมสี
การโม่เส้นใยต้องทำให้สม่ำเสมอและต้องผสมน้ำให้พอดีกับเส้นใยที่จะนำลงเครื่องปั่นเส้นใย
ข้อมูลจาก : http://www.otoptoday.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น