วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มารู้จักสายพันธุ์สับปะรดในประเทศไทย

สวัสดีครับวันนี้จะนำสาระดีๆมาฝากกัน สาระที่ผมจะมานำเสนอในวันนี้คือ "พันธุ์สับปะรดของประเทศไทย" หลายๆคนคงจะยังไม่รู้จักว่าประเทศไทยเรานั้นมีสับปะรดกี่สายพันธุ์หรือว่าบางคนอาจจะรู้แล้ว สายพันธุ์สับปะรดที่จะนำมาเสนอในวันนี้มีอยู 7 สายพันธุ์ครับ

  1. พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา
  2. พันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง
  3. พันธุ์ขาว
  4. พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี
  5. พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง
  6. พันธุ์ตราดสีทอง
  7. พันธุ์ภูแล
สับปะรด (Ananas comosus) เป็นไม้ผลเขตร้อน ที่จัดอยู่ในวงศ์ Bromeliaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของทวีปอเมริกาใต้ นักเดินเรือ ชาวสเปนและโปรตุเกส เป็น ผู้นำสับปะรดไปเผยแพร่ยังยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียในราว ศตวรรษที่ 16 และแพร่เข้ามายัง ประเทศไทยราวปีพ.ศ.2213- 2243
ถึงแม้ว่าสับปะรดมิได้ เป็นพืชพื้นเมืองของไทย แต่ก็ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ กระจายได้ดีในประเทศไทย เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกรับประทานผลกันอยู่ เป็นพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ด จึงต้องมีการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของลำต้น (vegetative parts) เช่น หน่อ จุกและตะเกียง แต่เนื่องจากมีการปลูก และขยายพันธุ์กันมานานจนมีลักษณะกลายพันธุ์เดิมไปตามลำดับ บางพันธุ์มีลักษณะคล้ายพันธุ์ป่า คือมีต้นสูงใหญ่ มีหนามมาก และมีผลเล็ก สำหรับสับปะรดพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน จะได้รับการ คัดเลือกจากต้นที่มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ต้นเตี้ย หนามน้อย ผลเป็น รูปทรงกระบอก และมีอายุถึงวันเก็บเกี่ยวสั้น
พันธุ์สับปะรดที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย ได้แก่ 
- พันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) หรือที่เรียกกันทั่วไป ว่า พันธุ์ศรีราชา มีผลใหญ่ที่สุดใน บรรดาสับปะรดด้วยกัน เนื้อมีรสหวานฉ่ำ ใบมีสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นร่องมีสีแดงอมน้ำตาล ปลายใบมีหนามเล็กน้อย เป็นพันธุ์เดียวที่ปลูกเพื่อส่งโรงงานสับปะรดกระป๋อง ปลูกมากในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ระยอง และลำปาง
- พันธุ์อินทรชิต หรืออินทรชิตแดง (Singapore Spanish) เป็นพันธุ์ เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ปลูกมานานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ปัตตาเวีย เล็กน้อย แต่มีหนามแหลมคมรูปโค้งงอ สีน้ำตาลอมแดงที่ขอบใบ ใบมีสีเขียวอ่อน ผลย่อยนูนเด่นชัด ตาลึกเมื่อแก่จัด เนื้อเป็นสีทอง รสไม่หวานจัด ภายในผลมีเส้นใยมากและผลค่อนข้างเล็ก จึง ไม่นิยมปลูกเพื่อบรรจุกระป๋อง ปลูกมากที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- พันธุ์ขาว (Selangor Green) เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในอำเภอ บางคล้า มีทรงพุ่มเตี้ย มีใบสีเขียวอมเหลือง ใบสั้นและแคบกว่าอินทรชิต ขอบใบมีหนามแหลม ผลมีหลายจุก แต่เนื้อมีรสชาติและคุณภาพคล้ายคลึง กับพันธุ์อินทรชิตมาก จึงมีผู้สันนิษฐานว่าคงจะกลายพันธุ์มาจากพันธุ์ อินทรชิต
-พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี (Malacca Queen) เป็นพันธุ์ที่มีใบแคบ และยาว ใบสีเขียวอ่อน และมีแถบสีแดงตอนกลางใบ ขอบใบเต็มไปด้วย หนามสีแดง ผลมีขนาดเล็ก ผลย่อยนูน ตาลึก เนื้อมีสีเหลือง รสหวานกรอบ และมีกลิ่นหอม นิยมปลูกกันมากในภาคใต้บริเวณจังหวัดภูเก็ตและชุมพร
- พันธุ์นางแล หรือพันธุ์น้ำผึ้ง มีผู้กล่าวว่าพันธุ์น้ำผึ้งนี้นำมา จากประเทศศรีลังกาบางท่านก็กล่าวว่านำมาจากมณฑลยูนนานของจีนแต่จาก ลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของต้น ใบ ดอก และผล จะคล้ายคลึงกันพันธุ์ปัตตาเวียมาก จึงอาจเป็นพันธุ์ย่อย หรือกลายพันธุ์มาจาก พันธุ์ปัตตาเวีย มีปลูกมากที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย เนื่องจากมีรส หวานจัดเป็นที่นิยมของตลาด จึงปลูกเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว
-พันธุ์ตราดสีทอง สับปะรดตราดสีทอง สับปะรดพันธุ์นี้จะไม่เหมือนพันธุ์อื่นตรงที่มีรสชาติหวาน กรอบทั้งผล โดยเฉพาะผิวเป็นตา ๆ สีเหลือง เย็นฉ่ำน่ารับประทาน
-พันธุ์ภูแล ผล ขนาดเล็ก เนื้อสีทอง กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบ รับประทานได้ รสชาติหวานปานกลาง สับปะรดภูแลเชียงราย หรือในชื่อเรียก สับปะรดภูแล เป็นสัปปะรดสายพันธุ์ในกลุ่มควีน ลูกเล็กและสามารถปลูกได้ตลอดปี
เอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อาศัยอยู่ที่ตำบลนางแล เป็นผู้นำพันธ์มาจากจังหวัดภูเก็ตมาปลูก ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ โดยไม่ได้มีการใช้ยาฆ่าแมลง และใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นคนละพันธ์กับสับปะรดนางแล และสาเหตุที่เชื่อเปลี่ยนชื่อ จากพันธ์ภูเก็ต เป็นพันธ์ภูแล เนื่องจากแม่ค้าคนกลางเห็นว่า ลักษณะลูกมีลักษณะเล็กและคนต่างจังหวัดที่มาเที่ยว ชอบกิน โดยเป็นการผสมชื่อระหว่าง ตำบลนางแล กับ สับปะรดพันธ์ภูเก็ต มิใช่มาจาก พันธ์ภูเก็ต ผสมกับพันธ์นางแล

ส่วนสับปะรดไรม่วงนั้นเป็นพันธุ์ปัตตาเวียครับ สามารถศึกษาจากหน้า ประวัติความเป็นมาของ สับปะรดไร่ม่วง

ข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 
                   http://www.tistr.or.th
                   http://flash-mini.com
                   http://www.xn--l3cjf8d8bveb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น